Growing Introduction ข้อมูลเบื้องต้น

Grow Guide  1 Growing Introduction ข้อมูลเบื้องต้น

8 ปัญหามือใหม่ที่เจอบ่อยๆให้เป็นความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการปลูก

  1. (รูป) แช่น้ำนานเกินไปทำให้เมล็ดเน่า
    หลายคนบอกว่าเอาเมล็ดไปแช่น้ำทิ้งไว้ซัก 12-24 รอจนเมล็ดจม แล้วนำขึ้นมาบ่มทิชชู่ซักวันสองวันเมล็ดก็งอกแล้ว แต่อีกหลายคนก็ซื้อเมล็ดค่ายราคาหลักพันแล้วนำมาแช่น้ำ ผลปรากฎว่ารอแล้วรออีก รอจนเริ่มมีกลิ่นเน่าก็จำใจทิ้งไม่ได้ เรื่องนี้สาเหตุก็มาจากการที่แช่น้ำทิ้งไว้นั่นแหละ ความจริงแล้วเปลือกเมล็ดไม่ได้ต้องการน้ำมากขนาดนั้น จำไว้เลยว่าชื้นได้แต่ห้ามแฉะ ลองนำทิชชู่หรือสำลี แล้วนำเมล็ดวางลงไป นำฟอกกี้ใส่น้ำสะอาดฉีดสามทีให้พอชื้น นำทิชชู่หรือสำลีปิดทับไปอีกชั้น ฉีดฟ้อกกี้ซ้ำไปอีกสามที ใส่กล่องหรือถุงซิบลอคที่มือสนิด ตั้งในห้องอุณหภูมิ 22-26 องศา ตรวจดูทุกๆ 12 ชม. แค่นี้ก็งอกไม่ต้องไปแช่น้ำแล้วลุ้นว่าจะเน่าไหม 
  2. (รูป) รดน้ำเยอะเกินไป บ่อยเกินไป
    มือใหม่หลายๆคนคงเคยเจออาการที่หลังรดน้ำต้นก็คอพับ ใบตก ตายในทันดีทันใด หรือถ้าตอนน้องยังเล็กอยู่ก็ลำต้นลีบใกล้ๆโคนรากเนื่องมาจากโรคเน่าคอดิน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดมาจากการรดน้ำมากและบ่อยเกินไป ต้นกัญชาเป็นพืชที่ชอบดินที่โปร่งเพื่อให้รากสามารถหายใจดูดออกซิเจนได้อย่างเต็มที่ ต้นชอบที่จะอยู่ในช่วงที่ดินแห้ง (dry period) บ้างเพื่อการเจริญเติบโตของรากที่ดีที่สุด การที่เรารดน้ำบ่อยเกินไปโดยที่ดินยังไม่ทันแห้งทำให้รากไม่สามารถหายใจได้, รากโตช้า, และตายได้ ดังนั้นการจะรดน้ำต้นกัญชาสามารถทำตามนี้ได้
    1. รดน้ำให้ทั่วกระถางทุกครั้ง ให้มีน้ำไหลออกจากก้นกระถางประมาณ 10% ของน้ำที่รดไป (การรดน้ำที่ดีควรรดรอบๆนอกกระถางเพราะรากจะได้ใหญ่และโตขึ้นเพื่อไปหาน้ำรอบนอก)
    2. รอจนกว่าวัสดุปลูกจะแห้ง ถึงจะรดน้ำใหม่ (ทริคง่ายๆก็คือยกกระถางจับความรู้สึกว่าหนักหรือเบา ต้องจำความรู้สึกตอนที่แห้งเบาสุดๆไว้ และจำความรู้สึกตอนที่เปียกสุดๆหนักๆ) ง่ายๆแค่นี้เอง
    ปล. มือใหม่ต้องระวัง อาการน้ำเกิน กับอาการขาดน้ำ ใบตกเหมือนกัน ความต่างคือกระถางหนัก
  3. (รูป) พยายามดึงเปลือกเมล็ดออก
    ข้อนี้อาจไม่ใช่แค่มือใหม่ที่เป็นกัน เพราะแอดเองบางทีก็คันมืออยากดึงเห็นแล้วมันรำคานตา แต่จะบอกว่าความจริงแล้วถ้าอยากช่วยก็เอาฟอกกี้ฉีดที่เปลือกเมล็ดบ่อยๆ ให้เปลือกอ่อนจนหลุดเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มความชื้นให้กับต้นอ่อนและยังเซฟค่ายเมล็ดที่ซื้อมาแพงด้วย
  4. (รูป) ปุ๋ยเยอะเกินไป ในช่วงต้นอ่อน
    ใน 1-2 สัปดาห์ที่ต้นเกิดมาใหม่ ต้นอ่อนกัญชามีสารอาหารเพียงพอที่จะเติบโตเองได้โดยไม่ง้อปุ๋ย ในส่วนต้นกัญชาที่ปลูกในดินหรือวัสดุแทนดิน (Supersoil) นั้นบางทีอาจไม่ต้องให้ปุ๋ยไป 4-6 สัปดาห์ การที่เราให้ปุ๋ยเยอะเกินไปต้นก็จะแสดงอาการใบไหม้ ใบมีสีแปลก ดังนั้นก็ให้ปุ๋ยแต่พอดี ตรวจ PPM/EC ของน้ำปุ๋ยที่เราจะให้ ปล.ถ้าเลี้ยงด้วย COCO,HYDRO อันนี้ต้องให้ตั้งแต่แรก
  5. (รูป) รู้ตัวช้าเกินไปว่ามีแมลงศัตรูพืชและเชื้อรา
    บ้านเราศัตรูพืชของกัญชามีอยู่ 3 ชนิดหลักๆ เพลี้ย,แมลงหวี่ขาว,ไรแดง ซึ่งการที่เรารู้ตัวช้าเกินไปอาจทำให้ต้นโตช้าและตาย ถ้าเราเริ่มเห็นการระบาดก็ควรกำจัดอย่างรวดเร็ว อาการของต้นกัญชาเวลาโดนบุกก็จะมี ใบหงิก(เพลี้ย), ใบมีจุด (แมลงหวี่ขาว,ไรแดง), ใต้ใบมีใย (ไรแดง) เราจึงควรหมั่นตรวจสอบสุขภาพด้านใต้ใบของต้นกัญชาบ่อยๆเพราะพวกนี้จะวางไข่ไว้ใต้ใบ ส่วนราก็มีอยู่สองชนิดหลักๆที่พบได้บ่อย คือราสีเทาและราแป้ง ราสีเทาจะพบบ่อยในช่วงทำดอกถ้าคุมความชื้นไม่อยู่ มันจะแอบหลบอยู่ด้านในก้าน ระยะแรกใบจะเริ่มเหลืองตรงจุดที่เกิดเชื้อราและดอกจะมีสีเทาอยู่ภายใน ถ้าหนักๆหน่อยก็จะเหี่ยวและลามไปทั่วทั้งต้น ถ้าหากพบราสีเทาในช่วงทำดอกระยะแรก ก็ต้องตัดช่อนั้นทิ้งไปเลยอย่าเสียดาย เพราะถ้าเอาไปใช้อันตรายมากๆนะ และหมั่นตรวจเช็คช่อดอกอื่นๆต่อไป ทางที่ดีวิธีป้องกันก็คือต้องคุมความชื้นอยู่ประมาณ 40-55 RH ถ้าเกิน 60 RH เชื้อราคามีโอกาสเติบโตได้ง่าย และก็เพิ่ม air flow ให้สม่ำเสมอด้วย ส่วนราแป้งลักษณะก็แบบชื่อเลย เป็นเหมือนผงแป้งโรยตามใบ ก็เกิดจากความชื้นเหมือนกันทำให้สปอราเติบโต วิธีป้องกันก็เช่นเดียวกับราสีเทา ส่วนวิธีแก้ไขก็ใช้ยากันเชื้อราต่างๆควบคุม
  6. (รูป) ไม่สนใจค่า PH ของน้ำ
    ค่า PH ของน้ำนั้นสำคัญมาก ต้นกัญชาจะรับสารอาหารได้ในช่วง pH ประมาณ 6-7 เมื่อปลูกในดิน 5.5-6 ถ้าเป็น COCO,HYDRO หากค่า pH ต่ำกว่าหรือสูงกว่านั้นจะไม่สามารถรับสารอาหารได้หรือการล็อคเอ้านั่นเอง และบางทีพวกแร่ธาตุต่างๆก็จะบล็อคกันเองจนทำให้ต้นไม่สามารถดูดซึมธาตุอาหารรองตัวอื่นได้และก็ออกอาการเช่นใบมีสีน้ำตาลอ่อนแซม, ใบหงิกงอเหมือนไหม้
  7. (รูป) ร้อนจนเกินไป หรือใกล้ไฟมากเกินไป
    สำหรับคนที่ปลูกเอ้าดอ อากาศที่ร้อนจนเกินไปจะทำให้ใบกัญชาชูขึ้นในช่วงแรก ถ้านานเกินไปใบก็จะงอและไหม้ หรือใบที่เกิดใหม่จะบิดเบี้ยวผิดรูป ซึ่งจะทำให้ต้นเจริญเติบโตช้า ทั้งนี้อยู่ที่สายพันธุ์ที่เราเลือกปลูกด้วย ส่วนสายอินดอ การที่อากาศในห้องปลูกร้อนจนเกินไปก็จะมีอาการคล้ายๆ กันแต่ก็จะมีปัจจัยเรื่องของตำแหน่งไฟ ถ้าหากต้นใกล้ไฟมากจนเกินไปปลายใบก็จะไหม้ ถ้าใกล้มากๆ ยอดนั้นก็แห้งกรอบไปเลย
  8. (รูป) แสงไม่พอ
    มือใหม่หลายๆคนเริ่มด้วยงบประมาณที่จำกัด และไม่อยากบานปลาย เลยลองซื้อไฟวัตต์ต่ำๆมาลองใช้ ผลก็คือต้นจะยืดยาวและไม่แข็งแรง ทำให้ลำต้นหักตายในที่สุด หรือบางคนให้แสงในระยะเวลาที่น้อยเกินไปต้นก็ยืดเช่นเดียวกัน ซึ่งตามหลักแล้วถ้าเป็นต้นโฟโต้ควรได้รับแสง 18 ชม. ตอนทำใบ และ 12 ชม. ตอนทำดอก ส่วนออโต้ก็สามารถเลือก 18/6,20/4,22/2,24/0 แล้วแต่สไตล์ของแต่ละคน ส่วนวิธีแก้ไขก็คือการนำไฟเข้ามาใกล้มากขึ้น (แต่ต้องระวังเรื่องความร้อน), ซื้อไฟใหม่, น้ำวัสดุปลูกมาโรยเพิ่ม, ใช้ไม้ค้ำ
Share